บทที่ 4
บทที่4
จงเอาใจใส่ในการอ่านหนังสือ
...ภาวนา ...ศึกษา
"จงเอาใจใส่ในการอ่านหนังสือ ในการเตือนสติ และในการสั่งสอนกว่าเราจะมา" (1ติโมเธียว 4.13) "จงเอาใจใส่ในข้อความเหล่านี้ ฝังตัวท่านไว้ในการนี้ทีเดียว เพื่อความจำเริญของท่านจะได้ปรากฎแจ้งแก่คนทั้งปวง" (1ติโมเธียว 4.15) "จงอุตส่าห์สำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เป็นคนงานที่ไม่ต้องอาย เพราะเป็นคนที่ซื่อตรงในการที่ใช้คำแห่งความจริงนั้น" (2ติโมเธียว 2.15)
ความจริงที่จะทำให้เราทั้งหลายเป็นไท เป็นความจริงที่รู้ (โยฮัน 8.32) ถ้าเราไม่รู้จักความจริง เราจะเป็นไทไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องเอาใจใส่ในการอ่าน, ภาวนา และศึกษา
1. จงเอาใจใส่ในการอ่านหนังสือ
โรเบอร์ต เอม อัชชินส์ ได้กล่าวว่า "ในการที่จะทำลายขนบประเพณีของชาวตะวันตกจำเป็นต้องเผาหนังสือ ไม่ต้องทำอะไรมาก ปล่อยให้หนังสือตั้งอยู่เฉย ๆ โดยไม่มีผู้ใดอ่านสักสามอายุคนก็พอ" ข้อเท็จจริงอันนี้จะเป็นจริงด้วยในทางศาสนา
(1) พระเจ้าประสงค์ให้เราอ่านพระคำของพระองค์ เพราะเหตุนี้เองพระคำเหล่านี้จึงได้ถูกบันทึกเป็นตัวหนังสือ ยะซายา 34.16 "จงเปิดพระคำของพระยะโฮวาออกอ่านและค้นหาดูเถอะ พระยะโฮวาได้ทรงเรียกสัตว์ทั้งหมดเหล่านี้ให้มาและไม่มีสักตัวเดียวขาดไป พระยะโฮวาพระองค์เองได้ทรงพระบัญชาสั่งมัน พอพระองค์เผยพระโอษฐ์ มันก็พากันเข้ามาจับกลุ่ม" โมเซได้อ่านหนังสือพระบัญญัติให้ประชาชนฟัง (เอ็กโซโด 24.3-8) มีข้อบังคับให้ชนชาติยิศราเอลอ่านพระบัญญัติทุก ๆ ซะบาโต ต่อหน้าชายหญิง, เด็ก ๆ และแขกแปลกหน้า เพื่อคนจะได้ยินพระบัญญัติ เพื่อจะได้เรียนรู้ และเพื่อจะได้ปฏิบัติตาม (พระบัญญัติ 31.10-12)
ในระหว่างการปกครองของกษัตริย์โยซียา ได้มีการค้นพบพระบัญญัติ เมื่อพบแล้วก็ได้อ่าน ผลปรากฏว่ามีการปฏิรูปศาสนากันใหญ่ (2พงศาวดารกษัตริย์ 22.23) ในสมัยของเอษรา มีการอ่านพระบัญญัติค่อนข้างยาวและชัดแจ้ง โดยมีการชี้แจงอธิบายให้ประชาชนฟัง ขณะที่ฝูงชนกำลังยืนฟังด้วยความตั้งใจด้วยน้ำตาไหลและนมัสการพระเจ้า (นะเฮ็มยา 8.1-9) พระเยซูทรงตระหนักดีว่าประชาชนอ่านพระบัญญัติของพระเจ้า (มัดธาย 12.3, 19.4, 21.16, 22.31, มาระโก 2.25, 12.10, 26, ลูกา 6.3) พระเยซูเองทรงอ่านพระบัญญัติของพระเจ้า (ลูกา 4.16) เปาโลหวังว่าโครงการแห่งความรอดที่ท่านเขียนไว้จะมีผู้อ่าน (เอเฟโซ 3.3-4) ยิ่งกว่านั้นเปาโลได้กำชับให้คริสเตียนที่เมืองเธซะโลนิเกให้อ่านจดหมายของเขา (1เธซะโลนิเก 5.27) โปรดดูโกโลซาย 4.16 ชาวเอธิโอเปียอ่านพระคำของพระเจ้า (กิจการ 8.30) พระเจ้าได้กำหนดพระพรให้แก่ผู้ที่อ่านพระคำของพระเจ้า (กิจการ 8.30) พระเจ้าได้กำหนดพระพรให้แก่ผู้ที่อ่านและประพฤติตาม (วิวรณ์ 1.3) เมื่อเราเขียนจดหมายไปถึงผู้ที่เรารัก เราอยากให้เขาอ่านฉันใดก็ดี พระเจ้าประสงค์จะให้เราอ่านพระคำของพระองค์ เราคงไม่เก็บพระคัมภีร์ไว้ให้ฝุ่นติดเปื้อน
(2) เจตนาในการอ่าน เราอ่านพระคัมภีร์เพราะว่าเป็นหน้าที่อย่างนั้นหรือ? อ่านเพียงเพื่อสำหรับโต้เถียงหรือ? อ่านเมื่อเราเตรียมบทเรียนหรือ? เราอ่านพระคัมภีร์เพราะว่ารักรักพระเจ้า และอ่านด้วยความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราอ่าน (ลูกา 11.28, มัดธาย 7.24-27, ยาโกโบ 1.22)
(3) พระคัมภีร์ควรอ่านในสถานะดังต่อไปนี้
(ก) เมื่อห่างไกลบ้าน - หยุดพักร้อน เอาพระคัมภีร์ติดตัวไปด้วย กิจการ 8.26-40
(ข) เมื่อท่านมีความสุข บทเพลงสรรเสริญ 100
(ค) เมื่อเศร้าใจ โรม 15.4
(ง) เมื่อวุ่นวายใจ ฟิลิปปอย 4.6-7
(จ) เมื่อเผชิญกับการทดลอง มัดธาย 4.1-11
(ฉ) เมื่ออยู่ที่คริสตจักร ลูกา 4.16
(ช) เมื่อกำลังทำงาน
(4) ควรอ่านพระคัมภีร์ทุกวัน (กิจการ 17.11) "วันละบททำให้ซาตานหนีไป" ร่างกายของเราต้องการอาหารทุกวัน ร่างกายฝ่ายวิญญาณจิตของเราก็ต้องการอาหารทุกวันเช่นกัน (1เปโตร 2.1-2, มัดธาย 5.6)
(5) ทำไมต้องอ่านพระคัมภีร์ทุกวัน? พระคำของพระเจ้าเป็นที่รอด (โรม 1.16) ชำระ (โยฮัน 15.3) นำ (บทเพลงสรรเสริญ 119.105) ทำให้กลับคืนดี (2โกรินโธ 5.19) ทำให้กลับใจใหม่ (บทเพลงสรรเสริญ 19.7) ทำให้ใจฟื้นขึ้น (บทเพลงสรรเสริญ 119.50) ทำให้เกิดความเข้าใจ (บทเพลงสรรเสริญ 119.130)
(6) จงซื้อพระคัมภีร์เป็นสมบัติของท่านเอง ทั้งพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่
(7) อ่านพระคัมภีร์ต่อหน้าที่ประชุม ควรจำคำแนะนำดังต่อไปนี้
(ก) ยืนตัวตรง
(ข) มองดูที่ประชุมให้มากเท่าที่จะมากได้
(ค) อ่านชัดถ้อยชัดคำ
(ง) อ่านให้ติดต่อกันเพื่อลูกโซ่ความคิดต่อต่อกัน
(จ) อย่าอ่านเร็วจนเกินไปจนผู้ฟังตามไม่ทัน
(ฉ) ยกพระคัมภีร์ขึ้นสูง
(ช) ฝึกหัดอ่านที่บ้าน
(ซ) หลีกเลี่ยงหาหน้ากระดาษหรือข้อไม่พบ
(ฌ) อ่านเน้น
(ญ) โปรดระลึกว่าท่านกำลังอ่านพระคำของพระเจ้า และการอ่านต่อหน้าที่ประชุมเป็นการนมัสการด้วย
2. ใจภาวนา
จอฮ์น ลอค ได้เขียนไว้ดังนี้ว่า "การอ่านจะเสริมสร้างสมองก็ต่อเมื่อเนื้อหาแห่งความรู้เป็นของเราเอง คือความคิดที่ทำให้การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของตัวเราเอง" การอ่านด้วยใจภาวนาจะช่วยให้เราไม่บ่นว่า "ข้าพเจ้าไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรเลยจากการอ่านหรือศึกษาพระคัมภีร์" หรือ "ข้าพเจ้าไม่สามารถเข้าใจพระคัมภีร์ได้" หรือ "พระคัมภีร์สูงเลยข้ามศีรษะข้าพเจ้าไป" ผู้ที่มีความสุขในบทเพลงสรรเสริญ บทที่ 1 เป็นบุคคลที่คิดรำพึงพระธรรมของพระเจ้าทั้งวันทั้งคืน ในบทเพลงสรรเสริญ 119.97 "ข้าพเจ้ารักพระนามของพระองค์มากสักเท่าใด เป็นข้อภาวนาของข้าพเจ้าวันยังค่ำ" อีกข้อกล่าวว่า "ข้าพเจ้ามีความเข้าใจมากกว่าบรรดาอาจารย์ของข้าพเจ้า เพราะข้อปฏิญาณของพระองค์เป็นข้อภาวนาของข้าพเจ้า" (บทเพลงสรรเสริญ 119.99) "ตาของข้าพเจ้าตื่นคอยเมื่อยามดึก เพื่อจะได้ภาวนาพระดำรัสของพระองค์" (บทเพลงสรรเสริญ 119.148) โปรดดู บทเพลงสรรเสริญ 119.15, 23, 48, 78 ดาวิดได้อธิษฐานว่า "ขอให้วาจาที่ออกมาจากปากกับความคิดในใจของข้าพเจ้าเป็นที่ชอบต่อพระเนตรของพระองค์" (บทเพลงสรรเสริญ 19.14)
3. ศึกษา
ถ้าเราอยากไปสวรรค์ เราจำเป็นต้องสละเวลาและกำลังเพื่อศึกษาเส้นทางที่เราจะไปนั้น เพื่อเราจะได้ไปถึง
(1) หนังสือที่ช่วยในการศึกษา ซึ่งควรมีในบ้านของท่าน
(ก) พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับ KJV, ASV
(ข) English Dictionaries
(ค) Bible Dictionaries
(ง) Bible Encyclopaedia
(จ) Concordance
(ฉ) ประวัติศาสตร์คริสตจักร
(ช) Bible Survey ฯลฯ
(2) หลักปฏิบัติที่ควรจำ เมื่อศึกษาพระคัมภีร์คือ
(ก) ถามว่า ใครเป็นผู้พูด
(ข) ถามว่า ข้อเขียนนั้นเขียนไปถึงใคร
(ค) ถามว่า ผู้เขียนกล่าวเล็งถึงใคร
(ง) ถามว่า ลักษณะการเขียนของเขาเป็นแบบไหน
(จ) ถามว่า เขาเขียนเมื่อใด
(ฉ) ถามว่า จุดประสงค์ในการเขียนคืออะไร
(ช) ถามว่า สาระของข้อความคืออะไร
(3) มีวิธีที่จะศึกษาพระคัมภีร์หลายอย่าง
(ก) แบบ Bibliographically คือ ศึกษาเป็นหนังสือ, บท และข้อไปตามขั้นตอน
(ข) แบบหัวข้อที่ต้องการศึกษา โดยใช้ศัพท์สัมพันธ์ (Concordance) ช่วย เช่น หัวข้อ เรื่องบัพติศมา, การกลับใจเสียใหม่ ฯลฯ
(ค) แบบ Biography คือ ศึกษาประวัติบุคคลสำคัญ ๆ
(ง) แบบ Dispendationally คือ เป็นยุคต่าง ๆ เช่น ยุคบรรพบุรุษ, ยุคโมเซ, ยุคคริสเตียน
(จ) แบบคำสอน หัวข้อที่เป็นคำสอนล้วน ๆ เช่น การไถ่โทษบาป, การชำระ, การกลับใจเสียใหม่ ฯลฯ
(ฉ) แบบ Devotionally คือ หัวข้อที่หนุนใจต่าง ๆ เช่น เมื่อป่วย, ทุกข์ใจ, บทเพลงสรรเสริญ บทที่ 23, 46, 121 ฯลฯ
(4) เราควรศึกษาพระคัมภีร์ด้วยจิตใจเช่นไร?
(ก) ควรศึกษาด้วยความเข้าใจแก่นของพระคัมภีร์คือทางแห่งความรอดของมนุษย์โดยพระเยซู ไม่ว่าจะศึกษาหนังสือเยเนซิศ หรือ มาลาคี จะต้องระลึกถึงแก่นข้อนี้เสมอ "พระคัมภีร์เดิมเน้นพระเยซูจะมา, พระคัมภีร์ใหม่เน้นพระเยซูได้มาแล้ว"
(ข) ควรศึกษาด้วยความเคารพ เพราะนี่เป็นหนังสือของพระเจ้า ดูนะเฮ็มยา 8.5
(ค) ควรศึกษาโดยมีจุดประสงค์ ศึกษาเพื่อรู้จักน้ำพระทัยของพระเจ้า (เอเฟโซ 3.3-4) เข้าใจว่าทางของมนุษย์มิใช่ทางของพระเจ้า (ยิระมะยา 10.23)
(ง) ควรศึกษาอย่างมีเป้าหมาย โยฮัน 12.48
(จ) ควรศึกษาให้ตลอดทั้งเล่ม กิจการ 17.11
(ฉ) ควรศึกษาด้วยความตั้งใจที่จะปฏิบัติตาม ยาโกโบ 1.22 และสอนผู้อื่น 2ติโมเธียว 2.2
สรุป โปรดเปิดพระคัมภีร์ของท่านไว้เสมอ แล้วประตูสวรรค์จะไม่ปิด
"จงเอาใจใส่ในการอ่านหนังสือ ในการเตือนสติ และในการสั่งสอนกว่าเราจะมา" (1ติโมเธียว 4.13) "จงเอาใจใส่ในข้อความเหล่านี้ ฝังตัวท่านไว้ในการนี้ทีเดียว เพื่อความจำเริญของท่านจะได้ปรากฎแจ้งแก่คนทั้งปวง" (1ติโมเธียว 4.15) "จงอุตส่าห์สำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เป็นคนงานที่ไม่ต้องอาย เพราะเป็นคนที่ซื่อตรงในการที่ใช้คำแห่งความจริงนั้น" (2ติโมเธียว 2.15)
ความจริงที่จะทำให้เราทั้งหลายเป็นไท เป็นความจริงที่รู้ (โยฮัน 8.32) ถ้าเราไม่รู้จักความจริง เราจะเป็นไทไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องเอาใจใส่ในการอ่าน, ภาวนา และศึกษา
1. จงเอาใจใส่ในการอ่านหนังสือ
โรเบอร์ต เอม อัชชินส์ ได้กล่าวว่า "ในการที่จะทำลายขนบประเพณีของชาวตะวันตกจำเป็นต้องเผาหนังสือ ไม่ต้องทำอะไรมาก ปล่อยให้หนังสือตั้งอยู่เฉย ๆ โดยไม่มีผู้ใดอ่านสักสามอายุคนก็พอ" ข้อเท็จจริงอันนี้จะเป็นจริงด้วยในทางศาสนา
(1) พระเจ้าประสงค์ให้เราอ่านพระคำของพระองค์ เพราะเหตุนี้เองพระคำเหล่านี้จึงได้ถูกบันทึกเป็นตัวหนังสือ ยะซายา 34.16 "จงเปิดพระคำของพระยะโฮวาออกอ่านและค้นหาดูเถอะ พระยะโฮวาได้ทรงเรียกสัตว์ทั้งหมดเหล่านี้ให้มาและไม่มีสักตัวเดียวขาดไป พระยะโฮวาพระองค์เองได้ทรงพระบัญชาสั่งมัน พอพระองค์เผยพระโอษฐ์ มันก็พากันเข้ามาจับกลุ่ม" โมเซได้อ่านหนังสือพระบัญญัติให้ประชาชนฟัง (เอ็กโซโด 24.3-8) มีข้อบังคับให้ชนชาติยิศราเอลอ่านพระบัญญัติทุก ๆ ซะบาโต ต่อหน้าชายหญิง, เด็ก ๆ และแขกแปลกหน้า เพื่อคนจะได้ยินพระบัญญัติ เพื่อจะได้เรียนรู้ และเพื่อจะได้ปฏิบัติตาม (พระบัญญัติ 31.10-12)
ในระหว่างการปกครองของกษัตริย์โยซียา ได้มีการค้นพบพระบัญญัติ เมื่อพบแล้วก็ได้อ่าน ผลปรากฏว่ามีการปฏิรูปศาสนากันใหญ่ (2พงศาวดารกษัตริย์ 22.23) ในสมัยของเอษรา มีการอ่านพระบัญญัติค่อนข้างยาวและชัดแจ้ง โดยมีการชี้แจงอธิบายให้ประชาชนฟัง ขณะที่ฝูงชนกำลังยืนฟังด้วยความตั้งใจด้วยน้ำตาไหลและนมัสการพระเจ้า (นะเฮ็มยา 8.1-9) พระเยซูทรงตระหนักดีว่าประชาชนอ่านพระบัญญัติของพระเจ้า (มัดธาย 12.3, 19.4, 21.16, 22.31, มาระโก 2.25, 12.10, 26, ลูกา 6.3) พระเยซูเองทรงอ่านพระบัญญัติของพระเจ้า (ลูกา 4.16) เปาโลหวังว่าโครงการแห่งความรอดที่ท่านเขียนไว้จะมีผู้อ่าน (เอเฟโซ 3.3-4) ยิ่งกว่านั้นเปาโลได้กำชับให้คริสเตียนที่เมืองเธซะโลนิเกให้อ่านจดหมายของเขา (1เธซะโลนิเก 5.27) โปรดดูโกโลซาย 4.16 ชาวเอธิโอเปียอ่านพระคำของพระเจ้า (กิจการ 8.30) พระเจ้าได้กำหนดพระพรให้แก่ผู้ที่อ่านพระคำของพระเจ้า (กิจการ 8.30) พระเจ้าได้กำหนดพระพรให้แก่ผู้ที่อ่านและประพฤติตาม (วิวรณ์ 1.3) เมื่อเราเขียนจดหมายไปถึงผู้ที่เรารัก เราอยากให้เขาอ่านฉันใดก็ดี พระเจ้าประสงค์จะให้เราอ่านพระคำของพระองค์ เราคงไม่เก็บพระคัมภีร์ไว้ให้ฝุ่นติดเปื้อน
(2) เจตนาในการอ่าน เราอ่านพระคัมภีร์เพราะว่าเป็นหน้าที่อย่างนั้นหรือ? อ่านเพียงเพื่อสำหรับโต้เถียงหรือ? อ่านเมื่อเราเตรียมบทเรียนหรือ? เราอ่านพระคัมภีร์เพราะว่ารักรักพระเจ้า และอ่านด้วยความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราอ่าน (ลูกา 11.28, มัดธาย 7.24-27, ยาโกโบ 1.22)
(3) พระคัมภีร์ควรอ่านในสถานะดังต่อไปนี้
(ก) เมื่อห่างไกลบ้าน - หยุดพักร้อน เอาพระคัมภีร์ติดตัวไปด้วย กิจการ 8.26-40
(ข) เมื่อท่านมีความสุข บทเพลงสรรเสริญ 100
(ค) เมื่อเศร้าใจ โรม 15.4
(ง) เมื่อวุ่นวายใจ ฟิลิปปอย 4.6-7
(จ) เมื่อเผชิญกับการทดลอง มัดธาย 4.1-11
(ฉ) เมื่ออยู่ที่คริสตจักร ลูกา 4.16
(ช) เมื่อกำลังทำงาน
(4) ควรอ่านพระคัมภีร์ทุกวัน (กิจการ 17.11) "วันละบททำให้ซาตานหนีไป" ร่างกายของเราต้องการอาหารทุกวัน ร่างกายฝ่ายวิญญาณจิตของเราก็ต้องการอาหารทุกวันเช่นกัน (1เปโตร 2.1-2, มัดธาย 5.6)
(5) ทำไมต้องอ่านพระคัมภีร์ทุกวัน? พระคำของพระเจ้าเป็นที่รอด (โรม 1.16) ชำระ (โยฮัน 15.3) นำ (บทเพลงสรรเสริญ 119.105) ทำให้กลับคืนดี (2โกรินโธ 5.19) ทำให้กลับใจใหม่ (บทเพลงสรรเสริญ 19.7) ทำให้ใจฟื้นขึ้น (บทเพลงสรรเสริญ 119.50) ทำให้เกิดความเข้าใจ (บทเพลงสรรเสริญ 119.130)
(6) จงซื้อพระคัมภีร์เป็นสมบัติของท่านเอง ทั้งพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่
(7) อ่านพระคัมภีร์ต่อหน้าที่ประชุม ควรจำคำแนะนำดังต่อไปนี้
(ก) ยืนตัวตรง
(ข) มองดูที่ประชุมให้มากเท่าที่จะมากได้
(ค) อ่านชัดถ้อยชัดคำ
(ง) อ่านให้ติดต่อกันเพื่อลูกโซ่ความคิดต่อต่อกัน
(จ) อย่าอ่านเร็วจนเกินไปจนผู้ฟังตามไม่ทัน
(ฉ) ยกพระคัมภีร์ขึ้นสูง
(ช) ฝึกหัดอ่านที่บ้าน
(ซ) หลีกเลี่ยงหาหน้ากระดาษหรือข้อไม่พบ
(ฌ) อ่านเน้น
(ญ) โปรดระลึกว่าท่านกำลังอ่านพระคำของพระเจ้า และการอ่านต่อหน้าที่ประชุมเป็นการนมัสการด้วย
2. ใจภาวนา
จอฮ์น ลอค ได้เขียนไว้ดังนี้ว่า "การอ่านจะเสริมสร้างสมองก็ต่อเมื่อเนื้อหาแห่งความรู้เป็นของเราเอง คือความคิดที่ทำให้การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของตัวเราเอง" การอ่านด้วยใจภาวนาจะช่วยให้เราไม่บ่นว่า "ข้าพเจ้าไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรเลยจากการอ่านหรือศึกษาพระคัมภีร์" หรือ "ข้าพเจ้าไม่สามารถเข้าใจพระคัมภีร์ได้" หรือ "พระคัมภีร์สูงเลยข้ามศีรษะข้าพเจ้าไป" ผู้ที่มีความสุขในบทเพลงสรรเสริญ บทที่ 1 เป็นบุคคลที่คิดรำพึงพระธรรมของพระเจ้าทั้งวันทั้งคืน ในบทเพลงสรรเสริญ 119.97 "ข้าพเจ้ารักพระนามของพระองค์มากสักเท่าใด เป็นข้อภาวนาของข้าพเจ้าวันยังค่ำ" อีกข้อกล่าวว่า "ข้าพเจ้ามีความเข้าใจมากกว่าบรรดาอาจารย์ของข้าพเจ้า เพราะข้อปฏิญาณของพระองค์เป็นข้อภาวนาของข้าพเจ้า" (บทเพลงสรรเสริญ 119.99) "ตาของข้าพเจ้าตื่นคอยเมื่อยามดึก เพื่อจะได้ภาวนาพระดำรัสของพระองค์" (บทเพลงสรรเสริญ 119.148) โปรดดู บทเพลงสรรเสริญ 119.15, 23, 48, 78 ดาวิดได้อธิษฐานว่า "ขอให้วาจาที่ออกมาจากปากกับความคิดในใจของข้าพเจ้าเป็นที่ชอบต่อพระเนตรของพระองค์" (บทเพลงสรรเสริญ 19.14)
3. ศึกษา
ถ้าเราอยากไปสวรรค์ เราจำเป็นต้องสละเวลาและกำลังเพื่อศึกษาเส้นทางที่เราจะไปนั้น เพื่อเราจะได้ไปถึง
(1) หนังสือที่ช่วยในการศึกษา ซึ่งควรมีในบ้านของท่าน
(ก) พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับ KJV, ASV
(ข) English Dictionaries
(ค) Bible Dictionaries
(ง) Bible Encyclopaedia
(จ) Concordance
(ฉ) ประวัติศาสตร์คริสตจักร
(ช) Bible Survey ฯลฯ
(2) หลักปฏิบัติที่ควรจำ เมื่อศึกษาพระคัมภีร์คือ
(ก) ถามว่า ใครเป็นผู้พูด
(ข) ถามว่า ข้อเขียนนั้นเขียนไปถึงใคร
(ค) ถามว่า ผู้เขียนกล่าวเล็งถึงใคร
(ง) ถามว่า ลักษณะการเขียนของเขาเป็นแบบไหน
(จ) ถามว่า เขาเขียนเมื่อใด
(ฉ) ถามว่า จุดประสงค์ในการเขียนคืออะไร
(ช) ถามว่า สาระของข้อความคืออะไร
(3) มีวิธีที่จะศึกษาพระคัมภีร์หลายอย่าง
(ก) แบบ Bibliographically คือ ศึกษาเป็นหนังสือ, บท และข้อไปตามขั้นตอน
(ข) แบบหัวข้อที่ต้องการศึกษา โดยใช้ศัพท์สัมพันธ์ (Concordance) ช่วย เช่น หัวข้อ เรื่องบัพติศมา, การกลับใจเสียใหม่ ฯลฯ
(ค) แบบ Biography คือ ศึกษาประวัติบุคคลสำคัญ ๆ
(ง) แบบ Dispendationally คือ เป็นยุคต่าง ๆ เช่น ยุคบรรพบุรุษ, ยุคโมเซ, ยุคคริสเตียน
(จ) แบบคำสอน หัวข้อที่เป็นคำสอนล้วน ๆ เช่น การไถ่โทษบาป, การชำระ, การกลับใจเสียใหม่ ฯลฯ
(ฉ) แบบ Devotionally คือ หัวข้อที่หนุนใจต่าง ๆ เช่น เมื่อป่วย, ทุกข์ใจ, บทเพลงสรรเสริญ บทที่ 23, 46, 121 ฯลฯ
(4) เราควรศึกษาพระคัมภีร์ด้วยจิตใจเช่นไร?
(ก) ควรศึกษาด้วยความเข้าใจแก่นของพระคัมภีร์คือทางแห่งความรอดของมนุษย์โดยพระเยซู ไม่ว่าจะศึกษาหนังสือเยเนซิศ หรือ มาลาคี จะต้องระลึกถึงแก่นข้อนี้เสมอ "พระคัมภีร์เดิมเน้นพระเยซูจะมา, พระคัมภีร์ใหม่เน้นพระเยซูได้มาแล้ว"
(ข) ควรศึกษาด้วยความเคารพ เพราะนี่เป็นหนังสือของพระเจ้า ดูนะเฮ็มยา 8.5
(ค) ควรศึกษาโดยมีจุดประสงค์ ศึกษาเพื่อรู้จักน้ำพระทัยของพระเจ้า (เอเฟโซ 3.3-4) เข้าใจว่าทางของมนุษย์มิใช่ทางของพระเจ้า (ยิระมะยา 10.23)
(ง) ควรศึกษาอย่างมีเป้าหมาย โยฮัน 12.48
(จ) ควรศึกษาให้ตลอดทั้งเล่ม กิจการ 17.11
(ฉ) ควรศึกษาด้วยความตั้งใจที่จะปฏิบัติตาม ยาโกโบ 1.22 และสอนผู้อื่น 2ติโมเธียว 2.2
สรุป โปรดเปิดพระคัมภีร์ของท่านไว้เสมอ แล้วประตูสวรรค์จะไม่ปิด