บทที่ 6
ยุคคริสเตียน ภาคสอง
40. ในช่วงของคริสตจักรศตวรรษแรก พระเจ้าได้ทรงดลใจให้คนของพระองค์บันทึกข้อความต่างๆโดยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ไว้ในพระคัมภีร์อย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อสั่งสอนบุตรของพระองค์ พระเจ้าได้ทรงสัญญาไว้ว่า คริสตจักรของพระคริสต์จะตั้งอยู่เป็นนิตย์เพราะฉะนั้นพระองค์จึงป้องกันไม่ให้มีการผิดพลาดใดๆในพระคัมภีร์ทั้งสิ้น พระเจ้าต้องการบุตรของพระองค์ทุกยุคให้ปฏิบัติตามแบบแผนของพระองค์อย่างเดียวกัน (2เปโตร 1:15-16, 21) เมื่อข้อเขียนแต่ละคนที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า คริสตจักรยุคแรกเป็นอำนาจเด็ดขาดขั้นสูงสุด (โกโลซาย 4:16) พระคัมภีร์ใหม่ประกอบด้วยแบบแผนของพระเจ้าสำหรับคริสตจักร เป็นแบบแผนที่สมบูรณ์และได้ส่งต่อๆไปตามหมู่ประชุมต่างๆหลายร้อยปีก่อนที่จะมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์เกิดขึ้น
41. ย้อนกลับไปในยุคของโมเซ หลายศตวรรษก่อนคริสตจักร พระคำของพระเจ้าเป็นอำนาจเด็ดขาดขั้นสูงสุด เหมือนกับการที่พระเจ้าได้กำหนดแบบแผนในการสร้างพลับพลาในพระคัมภีร์เดิมฉันใด พระเจ้าต้องการให้เราปฏิบัติตามแบบแผนที่พระเจ้าประทานให้ในพระคัมภีร์ใหม่สำหรับคริสตจักรของพระองค์ฉันนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตามถ้ามีกลุ่มชนปฏิบัติตามแบบพิมพ์เขียวของพระเจ้าสำหรับคริสตจักร คนกลุ่มนี้ไม่ใช่เป็นนิกายที่มนุษย์ตั้งขึ้นแต่เป็นคริสตจักรดั้งเดิม เป็นคริสตจักรของพระเยซูคริสต์ (เฮ็บราย 8:5-6)
42. แบบแผนของพระเจ้าสำหรับคริสตจักร มีประเด็นที่เด่นชัดหลายอย่างที่กำหนดไว้ในสมัยของอัครสาวกตามแบบเหมือนที่พระเยซูได้กำหนดเอาไว้ ประการแรก ให้เราพิจารณาเครื่องหมายเริ่มต้น ความจริงเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของคริสตจักร ไม่มีสถาบันมนุษย์อื่นใดแอบอ้างได้ ใครเป็นผู้ตั้งคริสตจักร? คริสตจักรตั้งที่ไหน? คริสตจักรตั้งเมื่อใด? คริสตจักรใช้ชื่ออะไร? พระคัมภีร์ใหม่ได้ให้คำตอบเราทุกประการ
43. เครื่องหมายสำคัญที่โดดเด่นของคริสตจักรตั้งแต่เริ่มต้น คือว่าพระเยซูพระองค์เองเป็นผู้ตั้งคริสตจักร เราจำได้ตอนที่พระองค์ได้สัญญาแก่อัครสาวกของพระองค์ “บนศิลานี้เราจะตั้งคริสตจักรของเราไว้” (มัดธาย16:18) พระเยซูได้รักษาคำสัญญาของพระองค์และได้ตั้งคริสตจักรของพระองค์ขึ้น พระองค์ลงทุนตั้งคริสตจักรด้วยพระโลหิตของพระองค์ สมาชิกของคริสตจักรพวกแรกได้แก่อัครสาวก และพวกยิว 3,000 คน ที่ได้รับบัพติศมาในวันเพ็นเตคอส (กิจการ 2:41-42) คนที่รักพระเจ้าไม่ต้องการคริสตจักรอื่นของมนุษย์ เขาต้องการคริสตจักรที่พระเยซูได้ตั้งขึ้นครั้งแรกในศตวรรษแรก คริสตจักรอื่นที่มนุษย์ตั้งขึ้นไม่สำคัญ
44. หลายปีผ่านมา มีศาสนาและนิกายต่างๆได้เกิดขึ้นตามเมืองต่างในโลก คริสตจักรของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า ได้ตั้งขึ้นที่กรุงยะรูซาเล็มในศตวรรษแรก ตามที่ผู้พยากรณ์ของพระเจ้าได้พยากรณ์ไว้ (ยะซายา 2:2-3) หลังจากที่คริสตจักรได้ตั้งขึ้นได้ไม่นานคริสเตียนถูกข่มเหงจึงต้องหนีออกไปจากกรุงยะรูซาเล็ม เมื่อพวกเขาไปที่ไหนก็ตามเขาได้ตั้งคริสตจักรขึ้น ตามแบบแผนของคริสตจักรแรกที่กรุงยะรูซาเล็ม เป็นไปได้ไหมในปัจจุบันนี้เราสามารถตั้งคริสตจักรตามแบบแผนดั้งเดิมที่บอกไว้ในพระคัมภีร์ใหม่?
45. เครื่องหมายของคริสตจักรแท้ตามแบบดั้งเดิม อีกประการหนึ่งคือว่าพระเยซูได้ฟื้นคืนพระชนม์เป็นประมุขของคริสตจักรแต่ผู้เดียวเท่านั้น หลังจากที่พระเจ้าได้ปลุกให้พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ “พระองค์ได้ทรงปราบสิ่งสารพัดทั้งปวงลงไว้ใต้พระบาทของพระองค์ และได้ทรงตั้งพระองค์ไว้เป็นประมุขเหนือสิ่งสารพัดแห่งคริสตจักร” (เอเฟโซ 1:22) ที่แท้แน่นอนว่าพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอดแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น พระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นประมุขของคริสตจักร (เอเฟโซ 5:23) พระเจ้าไม่ให้มีมนุษย์คนใดหรือกลุ่มชนกลุ่มใดในโลกนี้เป็นประมุขของคริสตจักรของพระคริสต์
46. คริสตจักรขององค์พระผู้เป็นเจ้าสามารถบ่งบอกได้โดยวิธีการเริ่มต้นครั้งแรก การเริ่มต้นครั้งแรกเป็นเครื่องหมายโดยความจริงที่เด่นชัด ซึ่งไม่เหมือนกับสถาบันศาสนาอื่นๆคือ พระเยซูเป็นประมุขของคริสตจักร สถานที่คือกรุงยะรูซาเล็ม เวลาคือประมาณ ค.ศ.33 ประมุขของคริสตจักรคือพระเยซูคริสต์ ชื่อของคริสตจักรคือคริสตจักรของพระคริสต์
47.การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ ในกายเดียวกันทางด้านศาสนาเป็นลักษณะของคริสตจักรยุคแรก และยังคงเป็นแบบแผนของพระเจ้าสำหรับคริสตจักรในปัจจุบันนี้ ความจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้นั่นก็คือว่าสมัยแรกไม่มีนิกายเกิดขึ้นเหมือนปัจจุบันนี้ที่มีนิกายมากมายที่เกิดขึ้น พระคัมภีร์ใหม่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าอัครสาวกและคริสเตียนทั้งหลายเป็นสมาชิกในคริสตจักรเดียวกัน
48. ในศตวรรษแรก พระกิตติคุณได้เผยแพร่ไปทั่วอาณาจักรโรมันคริสเตียนบางคนกระจัดกระจายไปเพราะถูกข่มเหงบ้างก็เดินทางไปด้วยความตั้งใจแต่พวกเขาทั้งหลายได้ประกาศข่าวประเสริฐของพระคริสต์ไม่ว่าพวกเขาจะไปที่ไหนก็ตาม (กิจการ 8:1-4,โรม 15:19-21) จากนั้นไม่นานคริสเตียนทั้งหลายได้รวมตัวกันเป็นหมู่ประชุมต่างๆที่เมืองเอเฟโซ เมืองเธซะโลนิเก และตามเมืองต่างๆอีกมากมาย คริสเตียนตามหมู่ประชุมต่างๆเหล่านี้เปาโลเขียนจดหมายบอกว่า “จงคำนับซึ่งกันและกันด้วยกิริยาจุบอันบริสุทธิ์ บรรดาคริสตจักรของพระคริสต์ขอคำนับท่านทั้งหลายด้วย”(โรม 16:16) หมู่ประชุมต่างๆเหล่านี้มีความเชื่อและปฏิบัติตามคำสอนอย่างเดียวกัน พวกเขาไม่ได้ชื่อต่างกันไป หมู่ประชุมแต่ละกลุ่มไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในความรัก และความเชื่อเขาทั้งหมดรวมกันเป็นคริสตจักรเดียวในโลกนี้ (1โกรินโธ 16:1, 1:10)
49. ตอนที่พระเยซูกำลังเผชิญกับความตายบนไม้กางเขน พระองค์ได้อธิษฐานด้วยใจร้อนรนเพื่อให้ผู้เชื่อทั้งหลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระองค์ ในคำอธิษฐานพระองค์ได้วิงวอนว่า “ข้าพเจ้ามิได้อธิษฐานเพื่อคนเหล่านี้พวกเดียว แต่เพื่อคนทั้งหลายที่วางใจในข้าพเจ้าเพราะคำของเขา เพื่อเขาทั้งหลายจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนพระองค์คือพระบิดาสถิตอยู่ในข้าพเจ้าและข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์เพื่อเขาจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระองค์และกับข้าพเจ้าด้วย เพื่อโลกจะได้เชื่อว่าพระองค์ได้ทรงใช้ข้าพเจ้ามา เกียรติยศซึ่งพระองค์ได้ทรงประทานแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ให้แก่เขาเพื่อเขาจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนพระองค์กับข้าพเจ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น” (โยฮัน 17:20-22) พระเยซูต้องการให้บุตรของพระเจ้าทุกคนตราบใดที่โลกยังตั้งอยู่ให้พวกเขารวมกันเป็นหนึ่งเดียวในคริสตจักรของพระองค์
50. พระเยซูได้เตือนพวกยิวว่า แผ่นดินใดๆที่เกิดแตกแยกกันแล้วแผ่นดินของพระคริสต์ คริสตจักร พระเยซูได้ตรัสว่า “จะมีฝูงแกะฝูงเดียวและมีผู้เลี้ยงแกะผู้เดียว” (โยฮัน 10:16) ในศตวรรษแรกคริสเตียนรวมกันเป็นฝูงเดียว โดยมีพระเยซูเป็นผู้เลี้ยงผู้เดียว แต่ปัจจุบันนี้มีนิกายประมาณ 250 นิกายที่มีความเชื่อต่างกัน บัพติสมาต่างกัน และมีคำสอนที่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน แม้ว่าแต่ละนิกายสอนความจริงบางอย่างบ้างและได้กระทำการดีบ้าง การแตกแยกเป็นนิกายต่างๆในยุคปัจจุบันขัดต่อคำอธิษฐานของพระเยซูในการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดอกหรือ?
51.ระบบการปกครองของคริสตจักร ตามแบบแผนของพระเจ้าได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนในพระคัมภีร์ใหม่ ปัจจุบันนี้คริสเตียนทั่วโลกจัดระบบการปกครองของคริสตจักรท้องถิ่นตามแบบแผนที่เป็นความจริงตามแบบพระคัมภีร์ โดยการปฏิบัติตามแนวทางที่พระเจ้าได้ประทานให้ในพระคัมภีร์ แนวทางของพระเจ้าเป็นอย่างไร?
52. ประการแรก พระคัมภีร์สอนว่า พระเยซูเป็นประมุขของคริสตจักร (โกโลซาย 2:18) ประการที่สอง เราเรียนรู้ว่าหมู่ประชุมที่มีความพร้อมที่จะจัดระบบการปกครอง หมู่ประชุมประกอบด้วยผู้ปกครอง มีมัคนายก ครูสอน นักเทศน์ และสมาชิกอื่นๆ (เอเฟโซ 4:11-12, ฟิลิปปอย 1:1) ตามคำสอนของพระคัมภีร์ไม่มีการยกย่องคนหนึ่งคนใดให้อยู่ในอำนาจเหนือคนอื่น แต่ทั้งหมดถือว่าเป็นพี่น้องกันหมดในครอบครัวของพระเจ้า (1เปโตร 4:8-11, 5:1-5)
53. ในพระคัมภีร์ใหม่ คริสตจักรท้องถิ่นระบบการปกครองต้องประกอบด้วยผู้ปกครองมากกว่าสองคนขึ้นไปไม่ใช่คนเดียว (กิจการ 14:23) บุรุษที่มีคุณสมบัติเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ปกครองได้ นี่เป็นตำแหน่งอันสำคัญที่มีความรับผิดชอบสูงในหมู่ประชุมคริสตจักรท้องถิ่น (1ติโมเธียว 3) พระคัมภีร์ใหม่เรียกผู้ปกครองหลายลักษณะเช่น “ศิษยาภิบาล” “ผู้ดูแล” และ “เจ้าอธิการ” (1เปโตร 5:1-4, กิจการ 10:17, 28) คำเหล่านี้ไม่ใช่บรรยายตำแหน่งแต่บรรยายถึงคุณสมบัติของผู้ปกครองและหน้าที่รับผิดชอบที่เขาจะต้องปฏิบัติ ในอดีตและปัจจุบันพระเจ้าไม่อนุญาตให้ยกย่องให้คนมียศมีตำแหน่งทางศาสนา และสวมใส่ชุดพิเศษเพื่อยกย่องคนเหล่านี้ให้มีตำแหน่งสูงกว่าสมาชิกธรรมดา (มัดธาย 23:1-12) ผู้ปกครองถูกแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดูแลคริสตจักรท้องถิ่นของตนเองเพื่อให้เป็นไปตามบัญญัติของพระเจ้า และมีความรับผิดชอบต่อสมาชิกทุกคน ขณะเดียวกันสมาชิกทุกคนต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง (เฮ็บราย 13:17)
54. มัคนายกในคริสตจักรท้องถิ่น ปรนนิบัติรับใช้ภายใต้ผู้ปกครองอีกต่อหนึ่ง และเป็นผู้ช่วยผู้ปกครองในภารกิจต่างๆในคริสตจักร เพื่อผู้ปกครองจะมีเวลาดูแลความต้องการฝ่ายวิญญาณจิตของสมาชิก (กิจการ 6:1-7) ภาพนี้แสดงให้เห็นผู้ปกครองแต่งตั้งมัคนายกเพื่อมอบหมายหน้าที่ให้ดูแลช่วยเหลือแม่ม่ายและเด็กกำพร้า ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ใน 1ติโมเธียว3 ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นมัคนายกจะต้องเป็นบุรุษที่เป็นคริสเตียนที่ถวายตัวและมีคุณสมบัติเพื่อจะทำหน้าที่นี้
55. ในพระคัมภีร์ใหม่ นักเทศน์ทำหน้าที่ในการเทศนาพระคำของพระเจ้า เป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐเขาได้ชื่อว่าเป็น “ผู้เผยแพร่” พระเจ้าไม่เคยอนุญาตให้สวมเสื้อผ้าพิเศษสำหรับนักเทศน์ และยกย่องให้มียศศักดิ์ให้เป็น “Reverend” (ผู้บริสุทธิ์) หรือ “ศิษยาภิบาล” เป็นการยกย่องนักเทศน์เหนือสมาชิก คำว่า “Reverend” (ผู้บริสุทธิ์) ในพระคัมภีร์ใช้กับพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว (บทเพลงสรรเสริญ 111:9) ความแตกต่างของคริสเตียนอยู่ที่หน้าที่รับผิดชอบ เพราะผู้ปกครองมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อพระเจ้าเกี่ยวกับทุกสิ่งที่สอนสมาชิก นักเทศน์รับใช้ภายใต้ผู้ปกครองของคริสตจักรท้องถิ่น (กิจการ 20:28) พระเจ้าเตือนให้ผู้ปกครองระมัดระวังโดยพระคำของพระเจ้าให้ต่อต้านผู้สอนเท็จ และนักเทศน์ที่สอนเท็จ (กิจการ 20:29-31, ติโต 1:9-11)
56. ครูสอนพระคัมภีร์ ในคริสตจักรท้องถิ่นมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ภายใต้ผู้ปกครอง อย่างไรก็ตามพระเจ้าเรียกร้องให้คริสเตียนทุกคนเป็นครูสอนพระคัมภีร์ (เฮ็บราย 5:12) พระคัมภีร์สอนว่าสมาชิกของคริสตจักรยุคแรก “...กระจัดกระจายไปก็ได้เที่ยวไปประกาศพระคำนั้น” (กิจการ 8:4) เพราะสมาชิกทุกคนประกาศพระคำของพระเจ้ากับผู้อื่น ทำให้คริสตจักรยุคแรกเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว พระเจ้าคาดหวังให้คริสเตียนในปัจจุบันนี้ปฏิบัติตามตัวอย่างของเขา
57. โปรดจำไว้ว่าพระเจ้าได้ประทานแบบแผนในการจัดระบบการปกครองอย่างเที่ยงตรงตามที่พระเจ้าต้องการ พระเยซูเป็นประมุขของคริสตจักรทั้งในสวรรค์และในแผ่นดินโลกแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นสวรรค์จึงเป็นสำนักงานกลางของคริสตจักรของพระคริสต์เท่านั้น คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งมีหน้าที่แต่งตั้งผู้ปกครองซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อพระเจ้าสำหรับจิตวิญญาณของของมัคนายก ครูสอนพระคัมภีร์ นักเทศน์ และสมาชิก พระเจ้าคาดหวังให้ผู้ที่ได้รับความรอดแล้วทำการในคริสตจักรท้องถิ่นในระบบการปกครองของตามแบบแผนที่พระเจ้ากำหนดไว้ (กิจการ 9:26-28) ไม่มีคริสเตียนที่ลาจากคริสตจักรแล้วยังเป็นที่ยอมรับของพระเจ้าได้
58. ชื่อของพระเจ้าสำหรับคริสตจักรของพระองค์ และชื่อของสมาชิกพระเจ้าทรงเป็นผู้เลือกโดยพระองค์เอง น่าแปลกใจที่พระเจ้าไม่ได้ใช้ชื่อเฉพาะสำหรับคริสตจักรของพระองค์ อย่างไรก็ตามเมื่อพระคัมภีร์กล่าวถึงคริสตจักรพระเจ้าได้เลือกวลีพิเศษ เพื่อชี้ให้เห็นคุณลักษณะที่เด่นชัดของคริสตจักร
59. พระเจ้าเรียกคริสตจักรของพระองค์ว่า “คริสตจักรของพระเจ้า” “คริสตจักรเริ่มแรก” “คริสตจักรของพระคริสต์” “พระกายของพระคริสต์” “เจ้าสาวของพระคริสต์” “ครอบครัวของพระเจ้า” โปรดสังเกตว่าวลีเหล่านี้ถึงอาณาจักรฝ่ายวิญญาณจิตของพระเจ้า โปรดสังเกตอีกว่าวลีที่พระคัมภีร์ใช้เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ยกย่องสรรเสริญพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า เพราะฉะนั้นพระเจ้าได้เลือกวลีเหล่านี้เพื่อบ่งบอกให้เห็นคริสตจักรของพระองค์
60. พระเจ้าเรียกชื่อพลไพร่ของพระองค์ว่า “คริสเตียน” “สิทธชน” “บุตรของพระเจ้า” “สาวก” “ปุโรหิต” และ “พี่น้อง” คำว่า “คริสเตียน” เป็นเครื่องหมายบ่งบอกให้ทราบว่าพระเยซูเป็นเจ้าของ คริสเตียนทุกคนเป็น “สิทธชน” เพราะความบาปของเขาทั้งหลายได้ถูกลบล้างไปแล้ว (1โกรินโธ 6:9-11) เขาเป็น “บุตรของพระเจ้า” เพราะว่าเขาได้บังเกิดใหม่ (1เปโตร 1:22-23, ฆะลาเตีย 3:26-27) เขาเป็น “สาวก” เพราะเขาเป็นผู้ที่จะต้องเรียนรู้ต่อไปเพื่อติดตามพระเยซู (กิจการ 11:19-21, 26) เขาเป็น “ปุโรหิต” ปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าโดยตรงทางพระเยซูคริสต์ ซึ่งพระองค์เป็นมหาปุโรหิต (1เปโตร 2:5) พระเยซูกับคริสเตียนทั้งหลายเป็น “พี่น้องกัน” เพราะเขาทั้งหลายเป็นบุตรของพระบิดาเจ้าแห่งสวรรค์ (เฮ็บราย 2:10-11, 1เปโตร 2:17, 1โยฮัน 3:13-15) ผู้เหล่านั้นที่ติดตามแบบแผนของพระเจ้าจะได้ความเคารพ ชื่นชมกับถ้อยคำเหล่านี้ที่พระเจ้าทรงเลือกแทนที่จะใช้ชื่อตามนิกายต่างๆ
61. กฎแห่งความเชื่อสำหรับคริสตจักรของพระเจ้า เป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งตามแบบแผนของพระเจ้า หลายศตวรรษก่อนที่จะมีหนังสือคำสอนของนิกายต่างๆ พระเจ้าได้กำหนดมาตรฐานกฎแห่งความเชื่อสำหรับพลไพร่ของพระองค์ (ฆะลาเตีย 1:6-9) คริสเตียนยุคแรกได้รับการทรงนำโดยคำสอนของพระเยซูเท่านั้น ซึ่งคำสอนของพระเยซูได้ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ใหม่
62. ในคำอุปมาเรื่องคนหว่านพืช พระคำของพระเจ้าสำคัญมากเพราะเป็นกฎแห่งความเชื่อ (มัดธาย 13:3-23) ซึ่งเราสามารถเข้าใจได้ชัดจากคำสอนของพระเยซูที่สอนว่า “เมล็ดพันธุ์พืชคือพระคำของพระเจ้า” (ลูกา 8:11) เพราะฉะนั้นคริสตจักรจะเกิดขึ้นได้ก็โดยการที่คริสเตียนปฏิบัติตามพระคำของพระเจ้า ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์พืชแห่งแผ่นดินของพระเจ้า พระคัมภีร์ใหม่เป็นกฎแห่งความเชื่ออย่างเดียวเท่านั้นที่พระเจ้าบัญญัติไว้สำหรับพลไพร่ของพระองค์ (2ติโมเธียว 3:16-4:4)
63. การนมัสการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในสายพระเนตรของพระเจ้า ท่านทราบไหมว่าพระเจ้าได้บอกพลไพร่ของพระองค์คือคริสตจักรต้องนมัสการพระองค์อย่างไร? คริสเตียนในปัจจุบันนี้ควรนมัสการพระองค์ตามแบบแผนที่พระองค์ได้บัญญัติไว้ตั้งแต่คริสตจักรยุคแรกตามที่บรรยายไว้ในพระคัมภีร์ใหม่ ตามความหมายของคำว่า “นมัสการ” หมายถึงการ “ยกย่องสรรเสริญ” คริสเตียนต้องนมัสการตามที่แบบที่พระเจ้าตรัส เพื่อสำแดงความรัก ยกย่องสรรเสริญพระองค์ด้วยใจบริสุทธิ์แก่พระเจ้าผู้ทรงสร้าง (โยฮัน 4:23-24)
64. ตัวอย่างที่เราได้เห็นการนมัสการในยุคบรรพบุรุษ บุตรชายของอาดามคือคายินกับเฮเบลได้นำเครื่องบูชามาถวายพระเจ้า พระเจ้าทรงรับเครื่องบูชาของเฮเบลที่เป็นแกะ แต่พระเจ้าปฏิเสธเครื่องบูชาของคายินที่เป็น “ผลผลิตที่มาจากไร่นา” พระคัมภีร์บอกว่า “โดยความเชื่อ” เฮเบลได้นำเครื่องบูชาที่ประเสริฐกว่า แสดงว่าเฮเบลได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้า ส่วนคายินไม่ได้ปฏิบัติคำสั่งของพระเจ้า (เฮ็บราย 11:4)
65. ในยุคของโมเซ มีเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นกับปุโรหิตสองคน นาดาบกับอะบีฮู ทั้งสองนมัสการพระเจ้าด้วยการจุดไฟเผาเครื่องหอมพระเจ้าเห็นว่าเขาทั้งสองไม่เคารพพระเจ้า ไม่เชื่อฟังพระองค์โดยการนำไฟจากที่อื่นซึ่งพระเจ้าไม่ได้สั่ง แทนที่เขาทั้งสองนำไฟจากที่พระเจ้าสั่งเขาทั้งสองได้นำ “ไฟจากที่อื่นมา” ผลของการไม่เชื่อฟังพระองค์โดยการนำไฟจากที่อื่นซึ่งพระเจ้าไม่ได้สั่ง แทนที่เขาทั้งสองนำไฟจากพระที่พระเจ้าสั่งเขาทั้งสองได้นำ “ไฟจากที่อื่นมา” ผลของการไม่เชื่อฟังมีไฟจากสวรรค์เผาทั้งสองถึงแก่ชีวิต (เลวีติโก 10:1-3) ความรักที่แท้จริงและการสรรเสริญพระเจ้าจะสำแดงด้วยการเชื่อฟังตามน้ำพระทัยของพระองค์ และให้ความเคารพในการเลือกของพระองค์เกี่ยวกับการนมัสการ (โยฮัน 14:15)
66. พระเจ้าได้จัดให้มีการนมัสการในยุคคริสเตียน : พิธีระลึก ศึกษาพระคัมภีร์ อธิษฐาน การร้องเพลง และการถวายทรัพย์ เพราะพระเจ้าพระองค์เองได้เลือกวิธีนมัสการของหมู่ประชุมร่วมกันเพื่อให้คริสเตียนสำแดงความรักต่อพระเจ้า พระองค์จะไม่ยอมรับสิ่งทดแทนอื่นๆอย่างเด็ดขาด พระเยซูตรัสว่า “ถ้าท่านรักเราท่านจะประพฤติตามบัญญัติของเรา” (โยฮัน 14:15) ให้เราพิจารณาการนมัสการแต่ละอย่าง
67. ก่อนที่พระเยซูจะสิ้นพระชนม์ ขณะที่พระองค์รับประทานอาหารกับพวกสาวกของพระองค์ พระเยซูได้ตั้งพิธีระลึกขึ้น ได้ประทานขนมปังไม่มีเชื้อให้พวกเขารับประทานเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงพระกายของพระองค์ และส่งน้ำองุ่นให้พวกเขาดื่มเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงพระโลหิตของพระองค์ พระเยซูตรัสแก่พวกเขาว่า “จงทำอย่างนี้เพื่อระลึกถึงเรา” (ลูกา 22:19-20) หลังจากที่คริสตจักรได้ตั้งขึ้นแล้วพวกสาวกได้ปฏิบัติตามแบบแผนของพระเยซู พวกสาวกได้มาร่วมประชุมกันทุกวันอาทิตย์เพื่อทำพิธีระลึก (กิจการ 20:7) ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าคริสเตียนยุคแรกได้ทำพิธีระลึกกันทุกวันอาทิตย์โดยไม่เว้นจนมีการเปลี่ยนแปลงหลายศตวรรษภายหลัง
68. เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้คริสเตียนทุกคนควรทำพิธีระลึกทุกวันอาทิตย์ เมื่อกินขนมปังและผลแห่งต้นองุ่น คริสเตียนระลึกถึงพระกายและระลึกถึงพระโลหิตของพระเยซูที่หลั่งไหลเพื่อลบล้างความบาปของเรา (1โกรินโธ 11:23-39) คนที่ปฏิบัติตามแบบแผนของพระเจ้า จะให้ความเคารพน้ำพระทัยของพระเยซูด้วยการทำพิธีระลึกร่วมกับพี่น้องคริสเตียนทุกวันอาทิตย์ (1โกรินโธ 11:20-29)
69. การศึกษาพระคัมภีร์ โดยการอ่าน, การฟังคำเทศนา และการสอนพระคำของพระเจ้าเป็นแบบแผนที่พระเจ้ากำหนดไว้ในการนมัสการพระองค์ในที่ประชุมร่วมกัน (กิจการ 20:7) โดยพระคัมภีร์เป็นพระคำที่ได้รับการดลใจเท่ากับพระเจ้าทรงตรัสแก่มนุษย์ (1โกรินโธ 14:37) การนมัสการพระเจ้าด้วยการศึกษาพระคำของพระเจ้าเป็นการถวายเกียรติยศแก่พระเจ้าด้วยการฟังพระดำรัสจากพระเจ้า ในเวลาอย่างนี้ควรจะเป็นเวลาที่เราสำรวมตั้งใจให้ความเคารพพระสุรเสียงของของพระเจ้า คริสเตียนที่แท้จริงควรศึกษาพระคัมภีร์ประจำทุกวัน
70. การอธิษฐานเป็นอีกส่วนหนึ่งของการนมัสการ คริสเตียนเข้าเฝ้าพระเจ้าด้วยการขอบคุณ ด้วยการเสนอความปรารถนาและอธิษฐานเพื่อคนอื่น (ฟิลิปปอย 4:6-7) ในขณะที่เรากำลังอธิษฐานเราควรสำนึกว่าเรากำลังสนทนากับพระเจ้า (ฟิลิปปอย 1:3-4) เพราะพระเยซูแต่เพียงผู้เดียวเป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ดังนั้นคำอธิษฐานของเราจะต้องอธิษฐานในพระนามของพระเยซูจึงจะเป็นไปตามแบบแผนของพระเจ้า (1ติโมเธียว 2:5) นอกเหนือจากการที่คริสเตียนอธิษฐานร่วมกันในที่ประชุมแล้วคริสเตียนควรอธิษฐานส่วนตัวทุกวัน
71. พระเจ้าได้เลือกการร้องเพลงด้วยปาก เป็นเสียงดนตรีที่พระเจ้าปรารถนาให้คริสเตียนนมัสการพระองค์แบบนั้น ในขณะที่คริสเตียนร้องเพลง ความคิดฝ่ายวิญญาณจากเพลงสรรเสริญควรจะหลั่งไหลออกมาจากใจขึ้นไปถึงพระเจ้า (โกโลซาย 3:16) การร้องเพลงออกมาด้วยจิตวิญญาณไม่ใช่เพียงแค่ถวายเกียรติยศแด่พระเจ้าตามที่พระองค์ทรงเลือกด้วยวิธีนี้เท่านั้น แต่การร้องเพลงเป็นการปลอบใจ ทำให้ใจสงบ และเป็นแรงดลใจแก่ดวงจิตของผู้นมัสการ แม้ว่าขณะทำภารกิจคริสเตียนได้รับการหนุนใจด้วยการร้องเพลงสรรเสริญ
72. แบบแผนในการนมัสการในวันอาทิตย์ รวมถึงการถวายทรัพย์ การถวายทรัพย์เป็นสิทธิในการที่เราจะแบ่งพระพรอันมากมายที่พระเจ้าประทานให้เราคืนให้พระองค์ (1โกรินโธ 16:1-2) คริสเตียนที่แท้จริงจะมีความรู้สึกเป็นหนี้พระเจ้าไม่ใช่เฉพาะความรอดที่เราได้รับเท่านั้นแต่รวมพระพรด้านวัตถุสิ่งของต่างๆด้วย เพราะฉะนั้นคริสเตียนมีแรงบันดาลใจในการถวายทรัพย์อย่างเต็มที่และด้วยความชื่นชมยินดี เขารู้ว่าการถวายทรัพย์ทุกอาทิตย์เป็นวิธีหนึ่งในการพิสูจน์ความรักของเขาที่มีต่อพระเจ้ารวมทั้งยินดีที่จะช่วยเหลือผู้อื่นในการได้ฟังข่าวประเสริฐ ของพระเยซูและพบกับความรอด (2โกรินโธ 8:6-9, 9:6-7)
73. โปรดจำไว้ว่าวิธีการในการนมัสการทั้ง 5 ประการดังกล่าว เป็นแบบแผนการนมัสการที่พระเจ้าเป็นผู้กำหนดเอาไว้ พิธีระลึก การศึกษาพระคัมภีร์ การอธิษฐาน การร้องเพลง การถวายทรัพย์ เพราะฉะนั้นทุกคนที่ปรารถนาจะนมัสการพระเจ้าและถวายเกียรติยศแก่พระองค์จะปฏิบัติตามแบบแผนที่พระเจ้ากำหนดเอาไว้สมบูรณ์ที่สุด
74. “ความหวังที่เราทั้งหลายประกาศตัวรับไว้แล้วนั้น ให้เราถือไว้ให้มั่นคง อย่าให้ยิ่งๆ หย่อนๆ ไป เพราะว่าพระองค์ผู้ได้ทรงสัญญานั้นสัตย์ซื่อ และให้เราพิจารณาดูกันและกัน เพื่อเป็นเหตุให้บังเกิดใจรักซึ่งกันและกันและกระทำการดี ซึ่งเราเคยประชุมกันนั้นอย่าให้หยุด เหมือนอย่างบางคนเคยกระทำนั้น แต่จงเตือนสติกัน และให้มากยิ่งขึ้นเมื่อท่านทั้งหลายเห็นวันเวลานั้นใกล้เข้ามาแล้ว” (เฮ็บราย 10:23-25) เมื่อใดก็ตามที่คริสตจักรท้องถิ่นมีการประชุม คริสเตียนทุกคนควรไปร่วมประชุมด้วยคนที่รักพระเจ้าที่แท้จริงจะไม่ขาดการประชุมนมัสการ
75. เงื่อนไขในการเป็นสมาชิก หรือหลักเกณฑ์ที่จะเข้าไปในอาณาจักรฝ่ายวิญญาณจิตของพระเจ้า ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนในพระคัมภีร์ใหม่ บรรดาผู้เชื่อพระเจ้าทั้งหลายจะต้องปฏิบัติตามแบบแผนของพระเจ้าที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์ไม่มากไม่น้อยกว่าที่พระคัมภีร์สั่งสอน คนที่เป็นคริสเตียนเป็นสมาชิกในคริสตจักรของพระเยซูคริสต์ ได้อย่างไร? คริสเตียนทุกคนควรมีความสามารถที่จะตอบคำถามนี้ได้ด้วยการตอบตามที่พระเจ้าสอนไว้ในพระคัมภีร์ใหม่
76. คริสเตียนผู้นี้ได้สำแดงให้เห็นวิธีที่จะช่วย ให้คนเข้าใจว่าคนอื่นจะเป็นสมาชิกในอาณาจักรของพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร? ท่านผู้นี้เน้นให้เห็นว่าบันใดก้าวแรกที่จำเป็นคือจะต้องมีความเชื่อเป็นรากฐานอันสำคัญในการเชื่อฟังพระเยซู ความเชื่อที่เข้มแข็งจะนำไปสู่การกลับใจเสียใหม่,สารภาพความเชื่อในพระเยซู, และรับบัพติศมาเข้าส่วนในความตายกับพระเยซูคริสต์ ผู้ที่ถวายชีวิตให้พระเยซูทั้งหมดและปฏิบัติตามเงื่อนไขของพระเจ้า มีหลักประกันว่าพระเจ้าจะทรงโปรดยกบาปโทษของเขาและนับเขาเข้าส่วนในคริสตจักรของพระองค์ (กิจการ 2:47) โดยพระคุณและความรักของพระเจ้าคนจะสามารถได้รับความรอดได้
77. “ความเชื่อในพระคริสต์” เป็นเงื่อนไขสำหรับทุกคนที่ต้องการได้รับความรอดและได้รับพระพรในคริสตจักรของพระเยซูคริสต์ (โยฮัน 8:24) พระกิตติคุณที่ได้เปิดเผยโครงการแห่งความรอดของพระเจ้าเป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้าที่จะทำให้มนุษย์รอดได้แต่แก่คนที่เชื่อจริงๆเท่านั้น (โรม 1:16) ความเชื่อชนิดหมดหัวใจในพระเยซูคริสต์เท่านั้นจะสามารถนำพาให้คนกลับใจบังเกิดใหม่จริงๆโดยการถวายตัวตามน้ำพระทัยของพระเยซูจริงๆ (ฆะลาเตีย 3:26-27)
78. การกลับใจเสียใหม่เป็นไปตามธรรมชาติและเป็นก้าวของการเจริญเติบโต ความเชื่อในพระเยซูคริสต์ เมื่อเราเชื่อว่าพระเจ้าทรงรักและได้ประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ยอมตายเพื่อความบาปของตัวของเขาเอง เขาจะรู้สึกเสียใจกับความบาปของตัวเองและการตัดสินใจที่จะทำให้พระเจ้าพอพระทัย (2โกรินโธ 7:10) การกลับใจเสียใหม่เป็นการตัดสินใจที่จะหันไปจากความบาปและกลับไปหาพระเจ้าเต็มใจที่จะเชื่อฟังพระเจ้าไม่ว่าจะต้องลงทุนมากสักเท่าใดก็ตาม เพราะมนุษย์ทิ้งพระเจ้า เพราะความไม่เชื่อฟังเขาจะต้องกลับมาหาพระเจ้าด้วยการเชื่อฟัง โดยการกลับใจเสี่ยใหม่เรากำลังเคลื่อนเข้าไปใกล้พระเจ้า การกลับใจเสียใหม่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การแสดงเท่านั้น ไม่ใช่ทำแล้วก็เสร็จสิ้นทิ้งไว้เบื้องหลัง ท่าทีของการกลับใจเสียใหม่จะติดอยู่ในใจของผู้ที่เป็นคริสเตียนแท้ตลอดทั้งชีวิต (ลูกา 24:47)
79. ความเชื่อที่แท้และการกลับใจที่จริงใจ จะเป็นแรงจูงใจให้เขาสารภาพความเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์บุตรของพระเจ้า “คือว่าถ้าท่านจะรับด้วยปากของท่านว่าพระเยซูเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และเชื่อในใจว่า พระเจ้าได้ทรงโปรดบันดาลให้พระองค์เป็นขึ้นมาจากความตาย ท่านจะรอด ด้วยว่าซึ่งมีใจเชื่อก็เป็นการชอบธรรม และซึ่งรับด้วยปากก็เป็นที่รอด” (โรม 10:9-10) การสารภาพที่สำแดงให้เห็นว่าเขาผู้นั้นจะจงรักภักดีต่อพระเยซูคริสต์เจ้านายคนใหม่ของเขา (1ติโมเธียว 6:12-16)
80. บันไดข้างบนสุดคือการ “รับบัพติศมาเข้าส่วนในพระเยซูคริสต์” ที่เห็นเป็นสีแดงเตือนให้เราทราบว่าความบาปของเราจะถูกลบล้างไปก็โดยพระโลหิตของพระเยซูเท่านั้น (เฮ็บราย 9:12-14) บัพติศมาเป็นการเติบโตจากความเชื่อ การที่บัพติศมาจะถูกต้องบุคคลนั้นจะต้องมีความเชื่อก่อนรับบัพติศมา เพื่อพระโลหิตของพระเยซูจะได้ทรงชำระความบาป ความเชื่อหลังรับบัพติศมาว่าพระโลหิตของพระเยซูช่วยให้เขารอด (กิจการ 8:36-39, โรม 6:3-4, 17-18)
81. สุดท้ายภารกิจของคริสตจักรของพระคริสต์คืออะไร ในขณะอยู่บนโลกนี้? เพราะพระเยซูได้ประทานชีวิตของพระองค์ให้คริสตจักรภารกิจของคริสตจักรจะต้องโดดเด่น และสูงส่ง และบริสุทธิ์ซึ่งไม่สามารถกระทำให้สำเร็จได้โดยองค์กรของมนุษย์ใดๆ
82. ภารกิจของคริสตจักรที่แท้จริง สามารถมองเห็นได้จากการที่เปาโลได้เห็นศุภนิมิตจากชาวมากะโดเนียอ้อนวอนว่า “ขอโปรดมาช่วยพวกข้าพเจ้าในเมืองมากะโดเนียเถิด” เปาโลได้ตอบคำอ้อนวอนนี้ด้วยการไปประกาศข่าวประเสริฐเรื่องพระเยซูได้เสียสละพระชนม์ของพระองค์เพื่อช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากบาปและได้รับชีวิตนิรันดรกับพระเจ้า (กิจการ 16:6-10) ภารกิจนี้คริสตจักรสามารถกระทำให้สำเร็จได้ (มัดธาย 26:19-20, กิจการ 8:4)
83. แบบแผนของพระเจ้าสำหรับคริสตจักรท้องถิ่น การนมัสการ หลักคำสอน กฎแห่งความเชื่อ การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, ระบบการปกครอง,ชื่อของคริสตจักร และภารกิจของคริสตจักร, ผู้ใดที่อยู่ในชุมชนที่ไม่มีคริสตจักรตามแบบแผนของพระเจ้า ผู้นั้นก็สามารถเริ่มต้นคริสตจักรที่แท้โดยปฏิบัติตามพระคัมภีร์ใหม่ แม้กระทั่งภายในครอบครัวของตัวเอง นี่ไม่ใช่เป็นการตั้งนิกายใหม่แต่เป็นคริสตจักรตามพระคัมภีร์เท่านั้นเหมือนกับคริสตจักรยุคแรกในสมัยของอัครสาวก
84. เราจะจบด้วยความคิดที่สำคัญมาก เหมือนที่พวกอัครสาวกได้เห็นพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ท่ามกลางก้อนเมฆเพื่อกับไปยังพระบิดา ทูตสวรรค์ได้สัญญากับอัครสาวกว่าพระองค์จะเสด็จกลับมาอีก (กิจการ 1:10-11) ภายหลังอัครสาวกโยฮันได้กล่าวว่า “พระองค์จะเสด็จมาในเมฆและนัยน์ตาทุกดวงจะเห็นพระองค์” (วิวรณ์ 1:7) โดยความรักและความเมตตาของพระเจ้าพระองค์ได้ทรงจัดสรรทางแห่งความรอดให้แก่ทุกคนโดยพระเยซูคริสต์และคริสตจักรของพระองค์ (วิวรณ์ 1:5-6) ในยุคคริสเตียนในปัจจุบันเราทุกคนจะต้องเลือกตัดสินใจว่าจะไปใช้ชีวิตนิรันดรที่ไหน? (2โกรินโธ 5:10) ถ้าเราไม่ได้เตรียมตัวเมื่อพระเยซูจะเสด็จกลับมาผู้ที่สมควรถูกประณามคือตัวเราเอง (เฮ็บราย 2:3)