บทที่ 6

          บทที่6

           การนมัสการที่ถูกต้อง

    ตลอดทุกยุคทุกสมัย  มนุษย์มีความสำนึกถึงผู้ที่มีอำนาจสูงสุดซึ่งเป็นผู้ควบคุมจักรวาล ความสำนึกถึงผู้ที่มีอำนาจนี้มิใช่เราจะพบได้แต่ในพระคัมภีร์เท่านั้น  แม้แต่โดยสิ่งแวดล้อมบนพื้นโลกก็ตาม เป็นเวลานานมาแล้วดาวิดได้กล่าวว่า "ฟ้าสวรรค์แสดงพระรัศมีของพระเจ้า  และท้องฟ้าประกาศพระหัตถกิจ" (บทเพลงสรรเสริญ 19.1)  เกี่ยวกับการนมัสการอำนาจศักดิ์สิทธิ์ตลอดทุกยุคทุกสมัยนี้เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ว่า การนมัสการในแบบนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในสายพระเนตรของพระเจ้า  เมื่อชนชาติยิศราเอลได้นมัสการรูปโคที่ทำด้วยทองคำ  พวกเหล่านั้นคิดว่าเขาได้นมัสการ "พระเจ้า" ที่เที่ยงแท้ซึ่งเป็นผู้ที่ได้นำเขาทั้งหลายออกจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์ (นะเฮ็มยา 9.18) พระคัมภีร์สอนว่าแม้การนมัสการของคนเหล่านี้จะเป็นไปอย่างความร้อนรนหรืออย่างจริงใจก็ตาม  การนมัสการแบบนี้ก็เป็นที่น่าสะอิดสะเอียนในสายพระเนตรของพระเจ้า (เอ็กโซโด 32.8-10)

    เราได้อ่านพบการนมัสการพระเทียมเท็จ เช่น พระบาละ พระดาโฆน พระอัสธาโรธ พระโมเรค  สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจถ่องแท้ว่าการที่เราจะนมัสการพระเจ้านั้น  นอกจากที่เราต้องนมัสการต่อพระเจ้าอันเที่ยงแท้โดยตรงแล้ว  เรายังต้องนมัสการตามวิธีการที่พระองค์ได้ทรงสั่งเอาไว้  ผู้เหล่านั้นที่นมัสการรูปเคารพอาจจะอวดอ้างว่าเขากำลังนมัสการพระเจ้าผู้สร้างซึ่งมีอำนาจสูงสุดในจักรวาล  เหมือนกับที่พวกยิศราเอลได้กระทำเช่นเดียวกัน  แม้ว่ารูปเคารพเหล่านั้นจะมีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ กันก็ตาม  โดยหลักฐานทั่ว ๆ ไปแล้วเราจะเห็นได้ว่าคนเหล่านั้นที่นมัสการรูปเคารพมิได้ลงความเห็นว่า รูปเคารพนั้นเป็นพระเจ้าจริง  แต่คนเหล่านั้นคิดว่ารูปเคารพนั้นเป็นประหนึ่งตัวแทนของพระเจ้าของเขานั่นเอง (เอ็กโซโด 32.4-6)  ถึงแม้ว่าการนมัสการนั้นจะกระทำกันโดยความจริงใจหรือโดยใจสุจริตก็ตาม  ถ้าการนมัสการนั้น ๆ ไม่เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเจ้าที่ระบุไว้  การนมัสการนั้น ๆ ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของพระเจ้า

โดยจิตวิญญาณและความจริง
    พระเยซูได้กล่าวว่า ผู้ที่นมัสการพระเจ้าที่แท้นั้นจะต้อง "เป็นผู้ที่นมัสการพระเจ้าด้วยจิตวิญญาณและความจริง" (โยฮัน 4.23)  การนมัสการนั้นไม่เพียงแต่จะกระทำด้วยความสุจริตใจแล้วเท่านั้น  แต่เราจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามแบบที่พระเยซูคริสต์ได้กำหนดเอาไว้ โดยอัครสาวกของพระองค์ในพระคริสตธรรมคัมภีร์  ในการที่จะนมัสการ "ด้วยความจริง"  จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติตามพระคำของพระเจ้า  พระเยซูได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งทีเดียวว่าเราต้องนมัสการ "ด้วยความจริง"  เมื่อเราอธิษฐานทูลขอต่อพระเจ้าพระบิดา "ขอโปรดได้ตั้งเขาไว้โดยความจริง คำของพระองค์เป็นจริง" (โยฮัน 17.17)  การที่จะนมัสการ "ด้วยความจริง" ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามแบบฉบับของพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่
    ตลอดทั่วทุกสมัยมีคนที่อ้างตนเองเป็นคริสเตียน  แต่ได้นมัสการพระเจ้าผิดแผกแตกต่างกันไปจากแบบฉบับที่กล่าวไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่  โดยเหตุผลเราก็ทราบว่าพวกเหล่านี้นมัสการพระเจ้าตามแบบฉบับของเขาโดยความสุจริตใจจริง ๆ  และคิดว่าการนมัสการตามแบบฉบับพระคัมภีร์นั้นไม่สำคัญอะไร  เหตุผลในทำนองนี้จะเข้ากันได้เป็นอย่างดีกับผู้เหล่านั้นที่นมัสการรูปเคารพ พระบาละ พระดาโฆน พระอัศธาโรธ หรือรูปเคารพโคที่ทำด้วยทองคำ ซึ่งไม่ต้องพูดถึงศาสนาสมัยใหม่ที่สอนเท็จ  พวกเหล่านี้เป็นพวกที่ปฏิเสธไม่เชื่อพระเยซู

มากยิ่งกว่าความจริงใจ
    แม้ว่าความจริงใจมีความสำคัญยิ่งยวดในการที่จะให้การนมัสการเป็นที่ยอมรับ  แต่ความจริงใจแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นยังไม่พอ  บางคนอาจยังสงสัยว่าเคยมีผู้นมัสการเป็นจำนวนมากที่มีความศรัทธาจริงใจ ตามที่เราได้กล่าวไปแล้ว คือนิกายต่าง ๆ ถึงแม้ว่าเขาจะมีความศรัทธาด้วยใจจริงก็ตาม แต่การกระทำที่ไม่เชื่อฟังบัญญัติขงพระเจ้าจะเป็นที่ยอมรับไม่ได้  เปาโลได้ข่มเหงคริสเตียนด้วยความเชื่อคิดว่าการกระทำของเขานั้นเป็นการถูกต้องตามน้ำพระทัยของพระเจ้า  แต่ภายหลังเปาโลทราบว่าการกระทำด้วยความเชื่อของเขานั้นเป็นความบาปอันร้ายแรงทีเดียว (กิจการ 22.38, 23.1)  เพราะฉะนั้นการนมัสการอันเป็นที่ยอมรับนั้น ต้องกระทำตามคำสั่งของพระคัมภีร์จึงเป็นการถูกต้องตามน้ำพระทัยของพระเจ้า
    บางคนอาจจะให้เหตุผลว่า ในการกระทำพิธีระลึกนั้นควรจะใช้ขนมเค้ก และน้ำจำพวกเครื่องดื่มเพิ่มเข้าไป  เพื่อจะทำให้พิธีระลึกนี้เป็นที่ชักชวนยิ่งขึ้นแก่คนทั่วไป   บางคนอาจจะอ้างว่าการกระทำอย่างนี้ด้วยความจริงใจก็ย่อมทำได้ และ "พระคัมภีร์ก็ไม่ได้ห้ามอะไร"  คนส่วนน้อยที่มีจิตใจแบบชาวโลกก็มีจิตใจคล้อยตามไป  และไม่ยืนหยัดปฏิบัติตามคำสอนของพระเยซูคริสต์เจ้า  ความประสงค์ในตอนนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า การนมัสการของเราจะเป็นที่ยอมรับได้นั้น  เราจะต้องนมัสการตามแบบฉบับของพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ แต่ไม่ใช่ตาม "ความคิด" หรือมันสมองของเราเอง  เราคงจำพระคำของพระเจ้าได้ "เพราะความคิดของเราไม่เหมือนความคิดของเจ้า  และทางของเราก็ไม่เหมือนทางของเจ้า" (ยะซายา 55.8)  บางทีเราอาจจะคิดว่าการนมัสการอันดูเสมือนยิ่งใหญ่และน่าทึ่ง  ซึ่งที่แท้จริงแล้วการนมัสการแบบนี้เป็นที่น่าสะอิดสะเอียดในสายพระเนตรของพระเจ้า  ข้อพิสูจน์อันสำคัญเพื่อจะให้เราทราบว่าการนมัสการนั้นจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ก็คือ "อำนาจในการนมัสการแบบนั้นมีอยู่ในพระคัมภีร์ใหม่หรือเปล่า?"
    เราจะได้เห็นกันต่อไปว่า การนมัสการแบบสมัยใหม่อันเป็นการปฏิบัติ ที่เขาใช้กันทั่ว ๆ ไป การนมัสการแบบนี้เราไม่สามารถพบได้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่  ตราบใดที่พวกอัครสาวกยังมีชีวิตอยู่ แต่หลังจากที่อัครสาวกสิ้นชีวิตไปแล้ว  การนมัสการอันเป็นความคิดเห็นของมนุษย์ก็ได้อุบัติขึ้นแม้จะมีการคัดค้านก็ตาม  พระเยซูสอนว่า ในการที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงแผนการของพระเจ้าไม่ว่าจะเป็นในกรณีใดก็ตาม การนมัสการนั้นก็จะไม่มีประโยชน์อันใดเลย  ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงตรัสไว้เกี่ยวกับคนเหล่านี้ที่ฝ่าฝืน "เขาปฏิบัติเราโดยหาประโยชน์มิได้ ด้วยเอาคำของมนุษย์สอนว่าเป็นพระบัญญัติ" (มัดธาย 159, วิวรณ์ 22.18-19, ฆะลาเตีย 1.8-9)
    ความเอนเอียงในการ "เปลี่ยนแปลง" แผนการของพระเจ้าไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่  การปฏิบัติอย่างนี้เป็นที่ตำหนิโทษตลอดทุกยุคทุกสมัย  พระคริสตธรรมคัมภีร์ได้บอกถึงเรื่องการที่กษัตริย์ซาอูลตั้งใจที่จะ "เปลี่ยนแปลง" คำตรัสสั่งของพระเจ้า  เมื่อคราวที่ได้นำความพินาศไปสู่แผ่นดินอะมาเลค  ในครั้งนั้นซาอูลได้ลักลอบเอาแกะชนิดดีเป็นสมบัติของตนเอง  โดยให้เหตุผลว่าจะเอามาเพื่อจะ "ช่วย" ในการนมัสการพระเจ้าให้ยิ่งใหญ่ขึ้น  เราจำได้ว่าพระเจ้าไม่ให้อำนาจแก่กษัตริย์ซาอูลในการกระทำของเขา  ผลแห่งการที่ซาอูลขัดคำสั่ง  พระเจ้าจึงได้ตัดกษัตริย์ซาอูลออกจากสาระบบกษัตริย์แห่งยิศราเอล (2พงศาวดารกษัตริย์ 15,  บทเพลงสรรเสริญ 19.13)
    อีกรายหนึ่งซึ่งปรากฏในพระคัมภีร์เดิม คือปุโรหิตสองคนชื่อ นาดาบ กับ อะบีฮู (เลวีติโก 1.1-2) พระคริสตธรรมคัมภีร์ได้อธิบายให้เราทราบว่า สองคนนี้ได้ "เปลี่ยนแปลง" คำสั่งของพระเจ้าโดยการที่ปุโรหิตทั้งสองได้นำเอาไฟอื่นที่พระองค์มิได้ตรัสสั่งให้ใช้" ด้วยการปฏิบัติที่ไม่สมกับการเชื่อฟัง  "และมีไฟออกมาจากพระยะโฮวา เผาเอาสองคนนั้นให้ตายต่อพระพักตรพระยะโฮวา" (ข้อ 2)  สองคนนั้นไม่มีเวลาที่จะได้แก้ตัวต่อพระเจ้าได้เลยว่า "พระเจ้าไม่ได้สั่งแก่เราและพระองค์ก็มิได้สั่งห้ามมิให้นมัสการแบบนี้  เพราะฉะนั้นเมื่อพระเจ้าไม่ได้ตรัสห้ามเอาไว้ ก็ใช้ได้"  ความประสงค์ในตอนนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าพระเจ้ามิได้ทรงบอกให้เราทราบสารพัดทุกสิ่งที่เราไม่สามารถใช้นมัสการพระองค์ได้  เพราะถ้าทำเช่นนั้นหนังสือพระคัมภีร์ก็คงจะหนาเป็นร้อย ๆ ไมล์ทีเดียว  เมื่อพระองค์บอกเราว่า  เราต้องทำประการใด  เราก็ต้องทำอย่างนั้นโดยอัตโนมัติ  สิ่งที่พระองค์ไม่ได้สั่งจะนำมาเกี่ยวข้องย่อมไม่ได้  ดังนั้นเมื่อพระคัมภีร์บอกให้เราใช้ขนมปังไม่มีเชื้อ  ในการทำพิธีระลึก  นั่นหมายความว่า เราจะใช้สิ่งอื่นแทนขนมปังไม่มีเชื้อ เช่น ขนมเค้ก, ขนม, ข้าวเหนียว, ขนมปังปอนด์ ย่อมไม่ได้  หลักการอันนี้ย่อมเป็นความจริงทุกเมื่อไม่ว่าจะเป็นการนมัสการหรือการที่เราจะต้องสำแดงการเชื่อฟังในด้านอื่น ๆ ก็ตาม

กลับมานมัสการตามแบบพระคัมภีร์ใหม่
    การนมัสการตามแบบพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่  เป็นการนมัสการที่ได้รับการดลใจ  พระเจ้าและบรรดาอัครสาวกเป็นผู้สั่งสอน  อันเป็นแบบฉบับในการนมัสการที่ถูกต้องแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นในทุกวันนี้  อันตรายอย่างหนึ่งในการล้มเหลวไม่ปฏิบัติตามแบบฉบับนี้  ก็คือว่าการปฏิบัติซึ่งไม่ตามแบบพระคัมภีร์ในการนมัสการนั้น  มักจะปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานจนในที่สุดคนส่วนมากยอมรับการปฏิบัติเช่นว่านี้   โดยไม่รู้สึกละอายเลย  แม้ว่าพระคริสตธรรมคัมภีร์มิได้ให้อำนาจในการปฏิบัติเช่นนั้น  และเราไม่สามารถจะอ่านพบการปฏิบัติที่นอกรีตในพระคัมภีร์  เพราะเราไม่สามารถจะพบการปฏิบัติเช่นนั้นในพระคัมภีร์  ซึ่งเป็นพระคำของพระเจ้า  เราก็สามารถจะกล่าวไว้ว่าเป็น "คำสั่งสอนของมนุษย์" ซึ่งพระเยซูคริสต์ได้กล่าวว่า เป็นการนมัสการที่เปล่าประโยชน์ (มัดธาย 15.9)   พระคัมภีร์สอนว่า แบบของการนมัสการซึ่งพระเยซูคริสต์เจ้า  และอัครสาวกได้วางหลักการเอาไว้  ซึ่งง่ายแก่การที่เราจะเข้าใจได้  การนมัสการนั้นแบ่งเป็น 5 อย่างด้วยกัน  1.การอธิษฐาน  2.เทศนาสั่งสอน  3.การถวายทรัพย์   4.พิธีระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า  5.การร้องเพลง  ดังเราจะได้ศึกษาถึงความสำคัญทั้ง 5 ประการนี้โดยย่อ ๆ ดังต่อไปนี้

การอธิษฐาน
    ความสำคัญของการอธิษฐานนั้นก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว  โดยไม่จำเป็นนำมากล่าวมากมาย  ข้อพระคัมภีร์ที่ควรทราบมี กิจการ 2.42, 12.5  และ 12,  16.25,  20.36,  1เธซะโลนิเก 5.17,  1ติโมเธียว 2.1, 2, 3,   โรม8.26  ถึงแม้เกี่ยวกับการอธิษฐานนี้  ก็ยังมีบางคนเปลียนแปลงบ้างเหมือนกัน  เช่นเป็นต้นว่าการอธิษฐานต่อนางมาเรีย  หรือ แก่ "สิทธิชน"  หรือการอธิษฐานผ่านมนุษย์  พระคัมภีร์กล่าวว่า "มีคนกลางแต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์  คือพระเยซูคริสต์ผู้ทรงสภาพเป็นมนุษย์" (1ติโมเธียว 2.5) และในพระคัมภีร์ไม่มีสักแห่งเดียวที่ยกย่องนางมาเรียเป็นตำแหน่งคนกลาง และก็ไม่มีอะไรบอกให้เราทราบว่า นางมาเรียมีอำนาจทัดเทียมกับพวกอัครสาวกที่ซื่อสัตย์ (มัดธาย 12.46-50)  การอธิษฐานต่อ "สิทธิชน" เป็นผลของความคิดมนุษย์  ซึ่งไม่มีพระคัมภีร์กล่าวยืนยัน  แม้ว่าทูตสวรรค์ของพระเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้  (วิวรณ์ 19.10,  กิจการ 10.15-26)  เพราะฉะนั้นการปฏิบัติอย่างนี้ก็นับได้ว่าเป็น "คำสั่งสอนของมนุษย์"  และการนมัสการนั้นเป็นการไร้ประโยชน์ (มัดธาย 15.9)

การเทศนา
    ก็เหมือนกับเรื่องของการอธิษฐาน   ความสำคัญถึงเรื่องการประกาศพระกิตติคุณก็เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ก็ไม่จำเป็นต้องอธิบายมากมายอะไร  ข้อพระคัมภีร์ที่สำคัญ คือ กิจการ 20.7,  ฆะลาเตีย 1.8-9,  1โกรินโธ 1.21,  กิจการ 2.42   ถึงแม้ว่าการเทศนานี้ก็เหมือนกัน  มนุษย์ก็มักจะเหินห่างจากทางของพระเจ้า  คือการที่อนุญาตให้สุภาพสตรีเทศนาสั่งสอนในที่ประชุม  "เพราะไม่ทรงยอมให้เขาพูด แต่ให้เขาอยู่ใต้บังคับบัญชา เหมือนที่มีคำทรงบัญญัติไว้แล้วนั้น" (1โกรินโธ 14.34)  อีกครั้งหนึ่ง เราอ่านพบว่า "ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้ผู้หญิงสั่งสอน หรือใช้อำนาจเหนือผู้ชาย แต่ให้เขานิ่งอยู่" (1ติโมเธียว 2.12)  ทั้งนี้มิได้หมายความว่าผู้หญิงจะสอนพวกผู้หญิงและเด็กไม่ได้ (ติโต 2.3-4)

การถวาย
    ใน 1โกรินโธ 16.1-2  พระคัมภีร์ได้บอกว่า การถวายทรัพย์นั้นกระทำกันในวัน "ต้นสัปดาห์" (วันอาทิตย์)  แม้ว่าเราจะได้รับความสนับสนุนในพระกิตติคุณถึงสิทธิของคริสเตียนทุกคนที่จะถวายตามความศรัทธาของตนได้ตามใจชอบ วิธีบังคับอย่างหนึ่งอย่างใดไม่เคยใช้เลย  ถ้าการถวายเป็นวิธีบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด  แม้ว่าเงินถวายนั้นจะมากมาย  การถวายนั้นก็ไม่เป็นที่ยอมรับ (2โกรินโธ 9.7)  ด้วยเหตุประการนี้เองการเก็บรวบรวมเงิน เราจึงมิได้เก็บทุก ๆ ครั้งที่มีการประชุมร่วมสามัคคีธรรม (นอกเหนือจากวันต้นสัปดาห์) การปฏิบัติเช่นนี้เราไม่อ่านพบในพระคัมภีร์  ข้อพระคัมภีร์ที่สัมพันธ์กันคือ 2โกรินโธ 8.1-8,  มัดธาย 19.29,  ลูกา 21.1-4

การทำพิธีระลึก
    การกระทำพิธีระลึกถึงพระเยซูเป็นหน้าที่ของคริสเตียนทุกคน  อันเป็นประสบการณ์ยิ่งใหญ่ทีเดียว  พระเยซูตรัสเกี่ยวกับขนมปังว่า  "จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา" (1โกรินโธ 11.24-25,   ลูกา 22.19-20)  การร่วมพิธีระลึกจึงไม่ควรเพียงแต่เป็นหน้าที่เท่านั้น  แต่เป็นสิทธิอันน่าเทิดทูนจริง ๆ เปาโลได้กล่าวว่า "เมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังและดื่มจากจอกนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า  กว่าพระองค์จะเสด็จมา"
    ในพระคริสตธรรมใหม่  พิธีระลึกถึงองค์พระเยซูได้กระทำกันทุก ๆ วันอาทิตย์  ทั้งประวัติศาสตร์โลกและพระคัมภีร์ได้ชี้ให้เห็นว่า ตราบใดที่อัครสาวกยังมีชีวิตอยู่  ไม่ได้กระทำกันเดือนละครั้ง หรือสามเดือนครั้ง  จนกระทั่งพวกอัครสาวกสิ้นชีวิตแล้วจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  ในหนังสือกิจการเราได้อ่านเกี่ยวกับการถือพิธีระลึกของพวกคริสเตียน  ในพระคัมภีร์ใหม่ดังข้อความต่อไปนี้  "ในวันอาทิตย์ เมื่อเราทั้งหลายประชุมกันทำพิธีหักขนมปัง  เปาโลก็กล่าวสั่งสอนเขา..." (กิจการ 20.7)  เราเรียนจากข้อนี้  และ 1โกรินโธ 16.1-2  เราก็พบว่าวันอาทิตย์เป็นวันที่ร่วมประชุมกันเป็นประจำในการที่จะ "หักขนมปัง"  หรือกระทำพิธีระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า  ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ก็บ่งชัดว่า  การกระทำพิธีระลึกนั้น  เขากระทำกันในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นการปฏิบัติของคริสตจักรเริ่มแรก  บางคนอาจจะค้านว่า อาจจะไม่ใช่ทุกวันอาทิตย์ก็ได้  ตามที่กล่าวไว้ในกิจการ 20.7  ให้เราดูข้อความใกล้เคียงกัน  พระเจ้าได้ตรัสว่า "จงระลึกถึงวันซะบาโต และจงตั้งไว้ให้เป็นวันบริสุทธิ์" (เอ็กโซโด 20.8)  พวกยิวอาจจะปฏิเสธว่า คำสั่งนี้มิได้หมายถึง "ทุกวันซะบาโต"  ผู้ที่ขัดขืนไม่เชื่อฟังแม้แต่นิดเดียวก็ต้องถูกลงโทษ (อาฤธโม 15.32-36)  เรายังได้อ่านพบใน 1โกรินโธ 16.1-2  พระคัมภีร์กล่าวว่า การถวายทรัพย์นั้นได้กระทำกัน "ทุกวันต้นสัปดาห์"  ข้อ2  ถ้ากระทำพิธีระลึกน้อยครั้งไม่เหมือนกับพวกอัครสาวกและยังรื่นรมย์กันอยู่  ถ้าอย่างนั้นแล้วเมื่อเราใช้เหตุผลเกี่ยวกับการร้องเพลง,  การอธิษฐาน และการถวายทรัพย์  ทำไมไม่ใช้เหตุผลในทำนองเดียวกันล่ะ?

การร้องเพลง
    ลักษณะที่ดูเหมือนแปลกสักหน่อยเกี่ยวกับการนมัสการตามพระคริสตธรรมใหม่  คือว่าดนตรีนั้นไม่เกี่ยวข้องเลย  เราไม่สามารถอ่านพบได้สักแห่งเดียวในพระคริสตธรรมใหม่ว่ามีการใช้เครื่องดนตรีในคริสตจักร   ไมว่าจะเป็นอัครสาวกหรือสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์คนใด  แม้การใช้เครื่องดนตรีมักจะใช้กันอย่างกว้างขวางในสมัยนั้นเกือบทุก ๆ คณะทุกกลุ่มทีเดียว   ประวัติศาสตร์ของโลกได้บันทึกว่าเครื่องดนตรีเป็น "คำสั่งของมนุษย์" โดยแท้  โดยเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.666 หลายร้อยปีหลังจากที่อัครสาวกได้ตายไปแล้ว  ซึ่งพระคัมภีร์มิได้ให้อำนาจในการปฏิบัติเช่นนี้เลย  พระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่สั่งให้คริสเตียนทั้งหลายร้องเพลง (ดนตรีด้วยปา Vocal Music)  เหมือนกับที่พระเจ้าส่งให้โนฮาต่อเรือด้วยไม้โกเฟอร์  (เยเนซิศ 6.14,  เอเฟโซ 5.19,  โกโลซาย 3.16)  การที่เริ่มจะเพิ่ม เปียโน,  ออร์แกน, กีต้าร์เข้าไปพร้อมกับการนมัสการเป็นการละเมิดตามหลักการอันเดียวกันที่ใช้กับโนฮา  ถ้าโนฮาจะละเมิดโดยใช้ไม้สนปนกับไม้โกเฟอร์ในการที่พระเจ้าสั่งให้ต่อเรือ  โนฮาได้ใช้เหตุผลเหมือนกับผู้เหล่านั้นที่เพิ่มขนมเค้ก หรือเครื่องดื่ม ในการทำพิธีระลึก  หรือเพิ่มเครื่องดนตรีในการนมัสการพระเจ้า  อันเป็นสิ่งที่ "พระเจ้ามิได้สั่งห้ามไม่ให้กระทำ"  พระเจ้าเพียงแต่บอกให้ใช้ไม้โกเฟอร์  แต่พระองค์มิได้ห้ามไม้อื่น ๆ ตามที่เราได้เรียนบทเรียนเมื่อตอนต้น ๆ ถึงนาดาบกับอะบีฮู  เราทราบว่าพระเจ้ามิได้บอกให้เราทราบถึงทุกสิ่งที่ไม่ควรทำเกี่ยวกับการนมัสการ  แต่พระเจ้าได้สั่งและได้ให้อำนาจแก่เราว่าเราต้องทำอย่างไรบ้าง  อันเป็นคำสั่งโดยเฉพาะเจาะจง (เลวีติโก 10.12)
    มีหลายสิ่งหลายดูเหมือนเป็นที่พออกพอใจในสายตาของเรา  แต่ในสายพระเนตรของพระเจ้าที่จริงเป็นเรื่องสะอิดสะเอียน (ยะซายา 55.8)  เครื่องดนตรีเป็นเครื่อง "ช่วย" เหมือนกับที่บางคนอ้างอย่างนั้นหรือ?  แน่นอน อัครสาวกผู้ซึ่งได้รับการดลใจ  และเป็นผู้ที่รักคริสตจักรมากยิ่งกว่าชีวิตของตนเอง  ถ้าอัครสาวกเห็นด้วยเขาก็คงจะใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการพร้อมกับการเผาสัตว์เป็นเครื่องบูชาและการเผาเครื่องหอม  การปฏิบัติอย่างดาวิดเช่นนี้  เราไม่พบตามแบบของคริสตจักรในพระคัมภีร์ใหม่  (โปรดดูบทเรียนบทที่ 3)  การนมัสการตามแบบคริสตจักรในพระคริสตธรรมใหม่ก็ง่ายและสละสลวยมากกว่า และเราจะได้นำมาอภิปรายอีกในบทที่ 7 และ บทที่ 8
 

ตอบคำถามแบบทดสอบ บทที่ 6  คลิกที่นี่

บทที่7